strengthening-crl

EXCHANGE PROGRAM

การศึกษาดูงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น

การเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ โรงงานเผาขยะเมืองซากะ ประเทศญี่ปุ่น (Saga City Waste Incineration Plant)

วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2566

          รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วยคณะอาจารย์และนักวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ โรงงานเผาขยะเมืองซากะ ประเทศญี่ปุ่น (Saga City Waste Incineration Plant)

          โดยเมืองซากะได้รับการรับรองให้เป็น “เมืองอุตสาหกรรมชีวมวล” มีเป้าหมายพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองที่มีการจัดการขยะแบบหมุนเวียน เพื่อสร้างมูลค่าทั้งในด้านแหล่งพลังงานและแหล่งทรัพยากรชีวมวลพร้อมสำหรับการนำกลับมาใช้ใหม่โดยอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ในพื้นที่

          ปัจจุบัน Saga City Waste Incineration Plant มีการดำเนินการและใช้ประโยชน์จากของเสียที่ได้จากระบบ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

          (1) ความร้อน โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกระบวนการเผาขยะจะจ่ายให้กับสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ และการเผายังใช้เป็นแหล่งความร้อนสำหรับสระน้ำของ Saga City Eco Plaza (ศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม) และโรงงานอุตสาหกรรม

          (2) คาร์บอนไดออกไซด์ โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกรวบรวมจากไอเสียของเตาเผาขยะและนำไปใช้ในการเกษตร ฯลฯ

          (3) น้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว โดยน้ำมันปรุงอาหารเหลือทิ้งจะถูกรวบรวมและกลั่นเป็นเชื้อเพลิงเทียบเท่ากับน้ำมันดีเซล ซึ่งนำไปใช้ในรถโดยสาร ฯลฯ

          ภายใต้การดำเนินโครงการ “พัฒนาความเข้มแข็งแบบแผนการจัดการขยะเพื่อตอบสนองผลจากภัยพิบัติและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

          สนับสนุนทุนการวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

การเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ สถานที่ฝังกลบขยะแบบกึ่งใช้อากาศเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น (Nakata Landfill in Fukuoka City, by semi-aerobic landfill method)

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2566

          รศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร หัวหน้าโครงการวิจัย พร้อมด้วยคณะอาจารย์และนักวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ สถานที่ฝังกลบขยะแแบบกึ่งใช้อากาศเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น (Nakata Landfill in Fukuoka City, by semi-aerobic landfill method)

          การฝังกลบขยะแบบกึ่งใช้อากาศโดยวิธี “the Fukuoka Method” ถูกพัฒนาโดย Dr. Masataka Hanashima จากมหาวิทยาลัยฟุกุโอกะ ซึ่งประสบความสำเร็จในเทคโนโลยีนี้หลังจากศึกษาการทดลองร่วมกับเมืองฟุกุโอกะในปี 1975 จากนั้น “the Fukuoka Method” นี้จึงถูกนำมาใช้ในดำเนินการฝังกลบขยะในท้องถิ่นทั่วประเทศญี่ปุ่น

          ในปี พ.ศ. 1979 การฝังกลบขยะแบบกึ่งใช้อากาศโดยวิธี “the Fukuoka Method” ได้ถูกนำมาใช้เป็นโครงสร้างการฝังกลบมาตรฐานที่จะใช้สำหรับสถานที่ฝังกลบขยะโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองฟุกุโอกะได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฟุกุโอกะรับผู้ศึกษาดูงานจากต่างประเทศและส่งผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นเกี่ยวกับระบบนี้ไปยังเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ ในโลก

          ในปี 2011 การฝังกลบขยะแบบกึ่งใช้อากาศโดยวิธี “the Fukuoka Method” ได้รับการรับรองว่า เป็นวิธีการเชิงนวัตกรรมของกลไกการพัฒนาที่สะอาด Clean Development Mechanism: CDM) ซึ่งระบุไว้ในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          ภายใต้การดำเนินโครงการ “พัฒนาความเข้มแข็งแบบแผนการจัดการขยะเพื่อตอบสนองผลจากภัยพิบัติและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

          สนับสนุนทุนการวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)