Strengthening-CRL

ABOUT US

พัฒนาความเข้มแข็งแบบแผนการจัดการขยะเพื่อตอบสนองผลจากภัยพิบัติและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(Enabling waste management scheme in response to disaster and climate change)

บทสรุปผู้บริหาร

 

       โครงการพัฒนาความเข้มแข็งแบบแผนการจัดการขยะเพื่อตอบสนองผลจากภัยพิบัติและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นการเสนอแนวทางในการสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานของประเทศไทยสองหน่วยงานได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม  (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) นำ โดยรศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) นำโดยรศ.ดร.ชาติ เจียมชัยศรี ร่วมกับ Center of Materials Recycle and Waste Management Research , National Institute for Environmental Study (NIES) นำโดยDr. Tonomori Ishigaki ซึ่งทั้งสามได้ร่วมกันจัดตั้ง NIES-KMUTT-KU Collaborative Research Laboratory (CRL) ขึ้นที่ประเทศไทย   

          ทั้งสามหน่วยงานภายใต้CRLได้มีกิจกรรมร่วมกันทั้งการแลกเปลี่ยนนักวิจัยและการทำวิจัยร่วมทั้งด้านเทคโนโลยีในการกำจัดขยะมูลฝอยและการจัดการขยะเฉพาะทางโดยเฉพาะทางด้านการจัดการขยะน้ำท่วมที่มี CRL ได้ร่วมจัดทำภาษีเจริญโมเดลสามารถจัดการขยะน้ำท่วมกองใหญ่ได้ภายใน7วัน  ซึ่งต่อมาได้ขอรับการสนับสนุนจากเครือข่ายเอเชียแปซิฟิกจัดทำคุ่มือจัดการขยะน้ำท่วมสำหรับกทม.และหน่วยงานในเมืองใหญ่  โครงการนี้ทั้งสามหน่วยงานใช้องค์ความรู้ และประสบการณ์ของแต่ละหน่วยงานร่วมกันในรูปแบบของmultidisciplinary เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเชิงป้องกันตั้งรับเพื่อบรรเทาความเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น

       โครงการพัฒนาความเข้มแข็งแบบแผนการจัดการขยะเพื่อตอบสนองผลจากภัยพิบัติและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เสนอขอรับการสนับสนุนนี้เป็นการทำงานวิจัยผ่านการจัดการขยะภัยพิบัติโดยใช้กรณี Covid 19 เป็นกรณีศึกษา และการจัดการขยะจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเน้นขยะพลาสติกทั้งการกำจัดและการใช้ประโยชน์

        ขยะภายใต้สถานะการณ์ภัยพิบัติเช่นนี้มีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งปริมาณ และองค์ประกอบ  การจัดการขยะที่เกิดขึ้นขณะที่ระบาดและหลังการระบาดต้องการการจัดการที่สร้างความมั่นใจให้กับชุมชนในความปลอดภัย และในขณะเดียวกันต้องมีการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมภายใต้หลักการcircular economy  ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ เสนอการจัดการขยะที่เกิดขึ้นภายใต้สถานะการณ์เหล่านี้  แต่ยังไม่มีการจัดทำคู่มือในการจัดการที่ครบวงจรตั้งแต่การคัดแยกเก็บขน บำบัดและกำจัดขั้นสุดท้าย รวมทั้งศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ ที่ครอบคลุมทุก ขั้นตอนและทุก stakeholders  ทั้งของรัฐและเอกชน  เพื่อให้เกิดการจัดการอย่างเป็นระบบและถูกต้อง  กลุ่ม CRL จึงได้เสนอกิจกรรมในการจัดทำคู่มือการจัดการขยะทั้งสองประเภทตั้งแต่ต้นทางจนถึงการปฏิบัติจริงในพื้นที่ให้เป็นต้นแบบเพื่อพร้อมขยายสู่ชุมชนอื่น ในประเทและต่างประเทศต่อไป  ข้อเสนอโครงการนี้เป็นการใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาจากการทำงานร่วมกัน  นอกจากการร่วมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายที่มีอยู่แล้วในระดับประเทศให้มุ่งสู่ระดับภูมิภาค  ยังเกิดประโยชน์ในเชิงการจัดการสิ่งแวดล้อมในประเด็นปัญหาเร่งด่วนและเป็นปัจจุบันของโลกอีกด้วย

           ผลผลิตจากงานวิจัยคือคู่มือการจัดการขยะทั้งสองประเภท ตั้งแต่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด การคัดแยก การเก็บขน) กลางทาง (การบำบัดและกำจัด) และปลายทาง (การนำไปใช้ประโยชน์) ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อันได้แก่ หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวัง  เก็บขน กำจัด  หน่วยงานเอกชนทั้งที่เกี่ยวข้องกับการกำจัด ขนถ่าย และrecycle รวมทั้งประชาชนและชุมชนทั่วไปที่ต้องทำหน้าที่ในการคัดแยก จัดเก็บและส่งต่อ  โดยการจัดทำคู่มือนี้ เน้นทั้งด้านสาธารณสุข ด้านสังคม  ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วย นอกจากนี้เพื่อให้การดำเนินครบวงจร ได้เสนอให้มีการนำมือการใช้คู่สู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ศึกษา สองพื้นที่ เพื่อดูความเป็นไปได้ในการใช้จริงและนำกลับมาพัฒนา

           ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็ง คือการเพิ่มความรู้ให้กับบุคลากรและเพิ่มบุคลากรที่ต้องการองค์ความรู้ด้านนี้ ผ่านการแลกเปลี่ยนนักวิจัย และการฝึกอบรมผ่านหลักสูตรที่จัดทำขึ้น  รวมทั้งเกิดบทความทางวิชาการในวารสารนานาชาติระดับQ1 และโครงการวิจัยร่วมที่เกิดจากการต่อยอดโครงการในอนาคต

               นอกจากนี้ทีมวิจัยคาดว่าสามารถนำผลที่ได้จากการสนับสนุนนี้มุ่งสู่การเป็นhub ด้านการจัดการขยะภัยพิบัติในเอเชียได้ภายใน 5 ปี โดยขยายผลการดำเนินการที่เป็นกระบวนการสาธิตขยายออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านต่อไป ทั้งสามหน่วยงานจะได้วางแผนในการแสวงหาทุนวิจัยจากต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานเมื่อสิ้นสุดการสนับสนุน การเกิดHub ด้านการจัดการขยะภัยพิบัติในเอเชียขึ้นในประเทศไทยจะช่วยยกระดับความเป็นสากลและได้รับการยอมรับด้านจัดการขยะและเทคโนโลยีในการจัดการ เพิ่มศักยภาพและจำนวนของนักวิจัย รวมทั้งมีความพร้อมในการตั้งรับขยะที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ลดความเสียหายทั้งทางด้านสาธารณะสุข ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ หากไม่มีการตั้งรับที่ดีความเสียหายอาจเกิดขึ้นจนประมาณการไม่ได้

หลักการ/เหตุผล และการทบทวนวรรณกรรม

(ระบุที่ไปที่มาของปัญหา อธิบายความจำเป็นและความสำคัญของโครงการวิจัย  และระบุคำถามงานวิจัยของโครงการวิจัย)

 

          ในปี 2552 บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ National Institute for Environmental Study (NIES) ประเทศญี่ปุ่น ได้ร่วมกันจัดตั้งCollaborative Research Laboratory (CRL) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยเพื่อร่วมพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยในสถาบันการศึกษาและภาคเอกชนเพื่อให้การจัดการขยะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมาะสมยิ่งขึ้น  CRL มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการสำหรับกิจกรรมในอนาคต

1) เร่งดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการขยะที่เหมาะสมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย

2) เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณทั้งการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนและกากอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3) เพื่อผลักดันเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หัวข้อวิจัยของ CRL ครอบคลุมประเด็นดังต่อไปนี้

1) การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการขยะสำหรับสังคมแห่งการหมุนเวียนทรัพยากร (sound material cycle society) ในเอเชีย (รวมถึงงานวิจัยเกี่ยวกับการเผาขยะ (incineration), การผลิตพลังงานจากขยะ (WtE), การฝังกลบ (landfill), เทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดกับที่ (jokaso) และระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (constructed wetlands)

2) การประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

3) ความช่วยเหลือเชิงเทคนิคสำหรับนโยบายการจัดการขยะเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นสังคมที่ยืดหยุ่น เตรียมพร้อมต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง

4) การประเมินความยั่งยืนและความปลอดภัยในวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ในระดับอาเซียนไปจนถึงระดับที่ใหญ่ขึ้น

รูปที่ 1  แผนพับของ Collaborative Research Laboratory (CRL)

          ในช่วง10 ปีที่ผ่านมาทั้งสามหน่วยงานได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีในการกำจัดขยะมูลฝอยในประเทศไทยหลายเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น

การประยุกต์ใช้ระบบ Semi-aerobic landfill ในกลุ่มประเทศอาเซียน

รูปที่ 2  เทคโนโลยี Semi-aerobic landfill

          ที่ผ่านมาระบบฝังกลบมูลฝอยของประเทศไทยใช้มาตรฐานอ้างอิงจากยุโรปและอเมริกาซึ่งมีความแตกต่างกับบริบทของประเทศอาเซียนมากทั้งในด้านขององค์ประกอบของขยะมูลฝอยเองรวมถึงสภาพอากาศ ซึ่งทั้งสองปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมของการย่อยสลายของขยะอินทรีย์เพื่อเข้าสู่ความเสถียรซึ่งสามารถวัดผลออกมาทั้งเชิงของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ทาง CRL ได้ร่วมกันออกแบบและทดลองในระดับ test cell ขนาดความจุ 4,000 ตัน จำนวน 2 cell ที่บ่อฝังกลบมูลฝอยของเทศบาลนครแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ผลการวิจัยบ่งชี้ถึงจุดเด่นของการใช้ระบบ Semi-aerobic landfill ในกลุ่มประเทศอาเซียนหลายด้านทั้งระยะเวลาในการปรับเสถียร การทรุดตัวของขยะที่เร็ว ความสามารถในการรวบรวมน้ำชะมูลฝอยที่ดี การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าระบบปกติอย่างมาก รวมถึงมลพิษที่ปลดปล่อยในรูปของน้ำชะมูลฝอยที่มีน้อยกว่าระบบปกติมาก ทำให้เกิดงานเผยแพร่ทางวิชาการจำนวนมาก และขณะนี้กรมควบคุมมลพิษของประเทศไทยได้ยอมรับรูปแบบการฝังกลบแบบนี้และแนะนำให้มีการใช้จริงในประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากระบบฝังกลบมูลฝอย

รูปที่ 3  การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งฝังกลบมูลฝอย

          พฤติกรรมการย่อยสลายอินทรีย์สารในบ่อฝังกลบแต่ละชนิดนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน ที่ผ่านมา IPCC ได้แนะนำค่า default มาให้ซึ่งเป็นค่าที่เกิดจากคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงเกิดช่องว่างทางงานวิจัยในเรื่องของค่าต่างๆที่ใช้ในการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนในประเทศเขตร้อนขึ้น ทาง CRL ได้ร่วมกันวิจัยพฤติกรรมการปลดปล่อยก๊าซมีเทนในบ่อขยะของไทยจำนวนมากและได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจนสามารถได้ค่า methane generation rate ที่สามารถใช้ในการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนประยุกต์ใช้ในการประเมินและวางแผนพัฒนาโครงการ landfill gas to energy ได้

การจัดการขยะน้ำท่วม

          ในปี 2554 ประเทศไทยเกิดมหาอุทกภัย โดยเกิดปัญหาน้ำท่วมขังอยู่เป็นเวลานาน หลังจากน้ำเริ่มลดระดับได้มีประชาชนเริ่มย้ายกลับบ้านพักของตนเพื่อเข้าจัดการทำความสะอาดบ้านบางส่วน ในขณะเดียวกันก็ยังมีประชาชนที่ไม่ได้ย้ายหรืออพยพไปไหนโดยได้เริ่มดำเนินการทำความสะอาดบ้านเช่นกัน ในช่วงนั้นกรุงเทพมหานครโดยสำนักสิ่งแวดล้อมเริ่มเข้าบริหารจัดการในพื้นที่บางส่วน โดยพบว่าปัญหาขยะน้ำท่วมไม่สามารถจัดการได้เป็นระบบทั้งต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ทางสำนักสิ่งแวดล้อมจึงได้เชิญทาง CRL เข้าร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบให้ เนื่องจากนักวิจัยของ CRL มีประสบการณ์ในการจัดการขยะจำนวนมาก รวมถึงขยะจากเหตุการณ์ Tsunami มาก่อน ซึ่งทาง CRL ได้จัดทำโครงการต้นแบบ “ภาษีเจริญโมเดล” ให้ ซึ่งในโครงการนี้ได้มีการร่วมมือกันหลายภาคส่วน โดยทาง CRL เป็นผู้ช่วยวางระบบและวิธีการเก็บขน การกำหนดจุดพักขยะขนาดใหญ่ การกำหนดวิธีการขนถ่ายมูลฝอยให้ ทำให้การจัดการขยะน้ำท่วมในเขตภาษีเจริญเป็นไปด้วยประสิทธิภาพและสามารถจบงานได้ภายใน 10 วัน หลังจากนั้นทางกรุงเทพมหานครได้นำโมเดลดังกลายไปปรับใช้ในเขตอื่นๆต่อมา

รูปที่ 4  การจัดการขยะน้ำท่วม

         จากประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้ สามหน่วยงานภายใต้ CRL ได้ร่วมกันเสนอโครงการวิจัย Adaptation of solid waste management to frequent flood in vulnerable mid-scale Asia cities  โดยมีเครือข่ายแปซิฟิกให้การสนับสนุน  มีการจัดทำคู่มือการจัดการขยะน้ำท่วมสำหรับเมืองใหญ่เช่นกรุงเทพฯ และเทศบาลขนาดใหญ่ โครงการนี้ได้รับความสำเร็จจากการเผยแพร่ข้อมูลในการอบรมมีการจัดประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้ คู่มือดังกล่าว   นอกจากนี้ยังได้มีการทำงานต่อเนื่อง วิจัยหาสาเหตุของขยะตามลำคลองที่เป็นสาเหตุของการทำให้น้ำท่วมฉับพลันหลังฝนตก ในโครงการ Appropriate solid waste management  towards flood risk reduction through recovery of drainage function of tropical Asian urban cities สนับสนุนโดยเครือข่ายแปซิฟิก ใช้กรุงเทพมหานครและเมืองเว้ในเวียดนามเป็นเมือง

ผลงานร่วมกันระหว่างKMUTT  KU และ NIES  ตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมา

รูปที่ 5  Timeline ของโครงการวิจัยร่วมกันของ CRL

การต่อยอดงานวิจัยที่ทำร่วมกัน

          จากความร่วมมือและประสบการณ์ของทั้งสามหน่วยงานอันได้แก่ Center of Materials Recycle and Waste Management Research at NIES  นำโดย Dr. Tonomori Ishigaki และ Dr. Masato Yamada  บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำโดยรศ.ดร.สิรินทรเทพ เต้าประยูร และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดยรศ.ดร.ชาติ เจียมไชยศรี จึงมีความประสงค์ใช้และขยายความรู้ความสามารถร่วมกันในมิติของ multidisciplinary จาการจัดการขยะน้ำท่วมมาช่วยพัฒนาการจัดการขยะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเฉพาะขยะที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันนี้ อันได้แก่ ขยะภัยพิบัติ จากการเกิดโรคระบาด  และขยะพลาสติกที่เป็นผลมาจากการการผลักดันให้ลดก๊าซเรือนกระจก   โดย Center of Materials Recycle and Waste Management Research at NIES  มีความชำนาญทางด้านประสบการณ์จากการจัดการขยะTsunami   การจัดทำมาตรฐานด้านการกำจัดขยะ  เทคโนโลยีด้านการrecycle การจัดการพลาสติกรวมทั้งการเข้าสู่ circular economy  ในส่วนของงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เน้นงานทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ เทคโนโลยีในการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นเชื้อเพลิงแข็ง ซึ่งตอบสนองการจัดการขยะที่ได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  เป็นการ recovery พลังงานและช่วยลดก๊าซเรือนกระจก  ซึ่งตรงกับความสนใจของNIESในด้านการrecycle materials และการเข้าสู่circular economy ด้วยเช่นกัน สำหรับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นอกเหนือจากเทคโนโลยีการจัดการขยะและน้ำเสียแล้ว การร่วมวิจัยขยะจากลำคลองและขยะอุดตันที่เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ เป็นการเน้นการร่วมมือทางด้านสังคมและการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน ซึ่งองค์ความรู้ในมิตินี้มีความจำเป้นอย่างยิ่งในการนำผลวิจัยลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่

Center of Materials Recycle and Waste Management Research at NIES เป็นหน่วยงานวิจัยของรับบาลประเทศญี่ปุ่นมีความชำนาญในเรื่องของการจัดการขยะต้นทาง การจัดการขยะภัยพิบัติ เทคโนโลยีการกำจัดขยะที่ลดก๊าซเรือนกระจก มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในระดับสากลและทำงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มากกว่า 10ปี มีกิจกรรมร่วมกันหลายรูปแบบที่ประสพความสำเร็จร่วมกันจึงเป็นหน่วยงานที่คณะวิจัยของประเทศไทยเลือกเป็นหน่วยงานที่สร้างความเข้มแข็งให้กับนักวิจัยของประเทศ  โดยนักวิจัยจากNIES ที่ร่วมโครงการประกอบด้วย 1) Dr. Tonomori Ishigaki 2) Dr. Masato Yamada 3) Rieko Kubota 4) Dr. Ryo   Tajima  5)Dr. Nopparit  Sutthasil และ 6) Dr. Geun – Yong  Ham   

              การเสนอโครงการพัฒนาความเข้มแข็งแบบแผนการจัดการขยะเพื่อตอบสนองผลจากภัยพิบัติและจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ของทั้งสามหน่วยงานมาต่อยอดในการสร้างองค์ความรู้สู่การปฏิบัติของการจัดการขยะภัยพิบัติ(เน้นขยะจากการเกิดโรคระบาด)และขยะพลาสติกที่เป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยคาดว่าโครงการนี้จะทำให้เกิดความร่วมมือทั้งในรูปของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ การสร่วมมือกันทำวิจัยและฝึกอบรมด้านต่างๆ ตลอดจนสร้าง visibility และยกระดับความสามารถทางวิชาการของทั้งสามหน่วยงานให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในระดับสากล

วัตถุประสงค์

 

              เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านแผนการการจัดการขยะมูลฝอยในเอเชียให้สามารถรับมือกับการเกิดสภาวะวิบัติภัยและการเปลี่ยนแปลงของโลก  โดยพัฒนาความเข้มแข็งในสามประเด็นคือ  1) แผนการจัดการขยะ  2) กำลังคน และ 3) เทคโนโลยีรองรับแผนการการจัดการขยะ  และใช้กลไกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเครือข่ายที่มีอยู่แล้วใช้เป็นต้นแบบในการสร้างความเข้มแข็ง และขยายผลสู่ประเทศในเอเชีย

กรอบการวิจัย

 

กรอบการวิจัยในความร่วมมือจะยึดหลัก

  1. งานวิจัย ที่อยู่ภายใต้กรอบของCRL ดังแสดงในรูปที่ 6
  2. ต่อยอดงานวิจัยที่เคยทำร่วมกัน
  3. ความสามารถของแต่ละหน่วยงานเพื่อนำมาร่วมกันวิจัย

รูปที่ 6  กรอบการทำงานของ CRL

         CRL มีกรอบการวิจัยร่วมกันที่ชัดเจนดังแสดงในรูปที่ 6 ซึ่งจะเห็นว่าCRL เน้นการจัดการขยะจากภัยพิบัติ ขยะเป็นพลังงาน โดยมีมิติของชุมชน และเศรษฐกิจหมุนเวียนมาตั้งแต่เบื้อต้นของการจัดตั้งการดำเนินงานของ CRL ยังคงเน้นกรอบในความร่วมมือเช่นเดิม 

กรอบการวิจัยในการสร้างความเข้มแข็งด้วยการทำงานแบบพหุสาขา

             รูปที่7 แสดงความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานที่ผ่านมาของทั้งสามสถาบัน และการรวมพลังในการทำงานในกรอบการวิจัยการจัดการขยะภัยพิบัติและขยะเพื่อลดโลกร้อน ซึ่งใช้ความร่วมมือกันระหว่างทีมมากขึ้นและเป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของการสร้างคู่มือ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาเทคโนโลยี

รูปที่ 7  กรอบการทำงานและสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม

        การวิจัยที่จะทำร่วมกันนี้เป็นการวิจัยการจัดการและวิจัยเทคโนโลยีเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติในเรื่องของการจัดการขยะภัยพิบัติ(เน้นขยะจากการเกิดโรคระบาด)และขยะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(เน้นขยะพลาสติกและการใช้ประโยชน์) โดยใช้องค์ความรู้จากการจัดการขยะภัยพิบัติโดยเฉพาะขยะTsunami จากประเทศญี่ปุ่นและการจัดการขยะน้ำท่วมจากประเทศไทย ซึ่งการจัดทำคู่มือการจัดการในทุกระดับนี้ต้องอาศัยองค์ความรู้ในหลายๆ ด้านเพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกันได้แก่

  1. ลักษณะความรุนแรง การกระจายและผลกระทบของภัยพิบัติ
  2. แหล่งกำเนิด ปริมาณ การการคัดแยกและ ศักยภาพในการเก็บขนของแต่ละพื้นที่
  3. ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้เกี่ยวข้อง ชุมชน หน่วยงานของรัฐ เอกชนและผู้ประกอบการ
  4. เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดและใช้ ประโยชน์
  5. นโยบาย กฎหมาย มาตรการทางสังคมและกลไกทางเศรษฐศาสตร์ที่นำมาใช้ขับเคลื่อนกิจกรรม

          ทั้งนี้ NIES ซึ่งมีประสบการณ์ด้านการจัดการขยะภัยพิบัติ เป็นหลักในการดำเนินการข้อที่ 1 และ 3  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีซึ่งมีผลงานด้านเทคโนโลยีและการใช้ประโยชน์โดยเฉพาะด้านพลังงานจะทำงานเป็นหลักในข้อ 3 สำหรับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะ และการขยายผลสู่ชุมชน ดำเนินการหลักในข้อ 2 และ 5

กลยุทธในการสร้างความเข้มแข็ง

         กลยุทธในการสร้างความเข้มแข็งของ CRL ประกอบด้วย

         1. การแลกเปลี่ยนนักวิจัยและการฝังตัวของนักวิจัยระหว่างสามสถาบัน

         ในช่วงการดำเนินงานที่ผ่านมา  NIES ได้รับดร.คมศิลป์ วังยาว จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและ ดร.นพฤทธิ์     จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อเป็น นักวิจัยหลังปริญญาเอก ทำวิจัยด้านเทคโนโลยี landfill และ MBT เป็นระยะเวลาประมาณ3ปี   ในปี 2558 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ส่ง นักวิจัย (ดร. อวัสสดา พงศ์พิพัฒน์)เพื่อเพิ่มประสพการณ์ด้านการเผาขยะในระบบincinerationและgasification และนักศึกษา(นส.พนิดา พยอมทิพย์) เพื่อเรียนรู้ด้านเก็บข้อมูลขยะTsunami โดยใช้งบประมาณจากNIES  นอกจากนี้ทีมนักวิจัยจากNIES นำโดย Dr. Tomonori Ishigaki เดินทางมาทำวิจัยในประเทศไทยหลายครั้ง คณะผู้วิจัยเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนนักวิจัยนี้เพราะทำให้เกิดงานวิจัยร่วมด้านต่างๆ ตามมาในระยะหลังงบประมาณวิจัยของNIES ลดน้อยลงเนื่องมาจากสถานการณ์ในประเทศ รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานไปเน้นขยะพลาสติกมากขึ้น การสนับสนุนจากโครงการนี้จะช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักวิจัยที่ได้ผลงานที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีการจัดการและการกำจัดขยะพลาสติกและไมโครพลาสติก

         2. การจัดฝึกอบรมและworkshop

         ในปี 2560 บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ เชิญ Dr. Tomonori Ishigaki เข้าร่วมบรรยายพิเศษเรื่อง “Sustainable Urban Development for ASEAN” ในการจัด International Summer school หัวข้อ Enhance Networking on Sustainable Urban Development วันที่ 24 -31 กรกฎาคม 2560   และในปี2564 นี้ บัณฑิตวิทยาลัยร่วมฯได้รับงบประมาณจาก กระทรวงการต่างประเทศเพื่อจัดทำ workshop เรื่อง Low Carbon Scenario Development: Waste management under crisis situation โดยมีแผนจะเชิญนักวิจัยจากNIES เข้าร่วมบรรยายด้วยเช่นกัน

         นอกจากนี้ ในปี 2559  ทาง NIES ได้เชิญ ดร.สิริทรเทพ เต้าประยูร ร่วมบรรยายพิเศษ ในการประชุม Advancement of sustainable and integrated waste management in Asia  ในหัวข้อ MBT in Thailand.ในวันที่19-21 ธันวาคม ที่เมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น 

         การจัดฝึกอบรมในระดับนานาชาตินี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสามหน่วยงานและยังเป็นการขยายเครือข่ายในเอเชียให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ดังนั้นในการเสนอโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็งนี้ จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมและทำworkshop โดยใช้จุดเด่นของแต่ละสถาบันมาเป็นจุดขาย  การจัดฝึกอบรมนี้ สามารถปรับให้เป็นหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นด้านการจัดการขยะภัยพิบัติสำหรับผู้สนใจทั่งโลก  คาดว่าทั้งสามหน่วยงานจะดำเนินการต่อเนื่องในปีที่ 4 เป็นต้นไปโดยร่วมกันจัดหาใช้งบประมาณจากหลายแหล่ง เช่นงบประมาณภายในของหน่วยงาน งบประมาณจากโครงการวิจัย และงบประมาณจากหน่วยงานต่างประเทศ เช่น APNและ IGES  เป็นต้น

         3. การจัดประชุมทางวิชาการ

         บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มจธ. ได้จัดการประชุมทางวิชาการนานาชาติ เป็นประจำทุกสองปี ในชื่อ  Sustainable Energy and Environment  International Conference (SEE Conference) ในปี2557 ได้เชิญ Dr. Masahiro  Osako หัวหน้าของ Center of Materials Recycle and Waste Management Research  ณ ขณะนั้นเข้าร่วมบรรยาย ในฐานะ keynote speakerเรื่อง Sustainable Waste Management after the Great Eat Japan Earthquake และเจรจาความร่วมมือด้านขยะพลาสติกนอกจากนี้ ดร.ชาติ เจียมไชยศรี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เป็นตัวแทนของประเทศในการจัดประชุม the 3R International Scientific Conference on Material Cycles and Waste Management  ซึ่งมีการจัดทุกปี ในปี2562 จัดขึ้นที่ประเทศไทย และในปี 2564 นี้ CRL ได้รับเป็นผู้ร่วมจัดประชุมร่วม 3RINCs 2021 Special Session/Webinar เรื่อง Recovery and preparation of organic waste as an alternative fuel  ในวันที่17 มีนาคม2564 นี้ คณะผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าการร่วมมือในการจัดประชุมทางวิชาการระหว่าง สามหน่วยงานนี้เป็นกลยุทธในการสร้างความเข้มแข็งที่ดีและมีความเป็นไปได้สูงทั้งในระหว่างการดำเนินงานของโครงการโดยใช้งบประมาณจากการสนับสนุนเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย และหลังจากสิ้นสุดโครงการ โดยอาจการจัดประชุมทางวิชาการของ CRL เอง หรือร่วมจัดกับงานประชุมอื่น  เพื่อสร้างvisibility ของCRL และขยายเครือข่ายให้เป็นที่รู้จักต่อไป 

         4. การทำวิจัยร่วมและการสร้างเครือข่ายวิจัยสู่ภูมิภาค

         เป้าหมายหลักของCRLอยู่ที่การทำวิจัยร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับภุมิภาค ดังนั้นที่ผ่านมามีการทำวิจัยร่วมกันในหลายบริบท  แต่การขอรับการสนับสนุนในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งนี้ เป็นการต่อยอดงานวิจัยให้ครบ ในการทำคู่มือการจัดการทั้งจากต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ ซึ่งจะมีประเด็นในเชิงวิจัยต่อยอดทั้งทางhard science และ soft science  ทั้งสามหน่วยงานต้องทำหน้าที่มนการสกัดโจทย์และประเด็นเพื่อทำวิจัยร่วมกันต่อไป

         5. การเชิญผู้บริหารเยี่ยมชม

         มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำข้อตกลงความเข้าใจร่วมกัน(MOU)ในความร่วมมือระหว่างKMUTT, KU และ NIES ในการทำงานวิจัยร่วม   การได้รับการสนับสนุนในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายนี้ช่วยให้กรอบความร่วมมือมีความชัดเจนขึ้นและพร้อมเจรจาในความร่วมมือระดับสถาบันต่อไปโดยอาศัยการสร้างแผนhigh level  dialogue  ระหว่างสถาบัน